วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออก

ขั้นตอนการส่งออกมะม่วงไปจำหน่ายในญี่ปุ่น


                มะม่วง นั้นเป็นไม้ผลที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศไทย แต่ดูเหมือนว่า การส่งออกมะม่วงไทยไปขายยังตลาดต่างประเทศ รวมทั้งญี่ปุ่น ยังมีปริมาณน้อยเกินไป มะม่วง นอกจากจะเป็นผลไม้ที่ผลิตเพื่อ บริโภคในประเทศเป็นส่วนใหญ่แล้วนั้นยังเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพในการส่งออกที่ สำคัญอันดับต้นๆของไทย ตลาดส่งออกมะม่วงที่สำคัญของไทยได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และฮ่องกง ส่วนตลาดมะม่วงกระป๋องที่สำคัญของไทยจะอยู่ในแถบสหภาพยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยมีแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกตลาด
                การส่งออกมะม่วงของไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปผลสด แห้งและมะม่วงกระป๋อง  มูลค่าส่งออกมะม่วงละผลิตภัณฑ์รวมประมาณ 385 ล้านบาท  สำหรับ การส่งออกมะม่วงสดและแห้งของไทยยังมีปริมาณการส่งออกไม่แน่นอนเนื่อง จากปัญหาคุณภาพของผลผลิต ที่เกิดจากการขนส่ง การบรรจุภัณฑ์ และแมลงวันทอง ในขณะที่มะม่วงกระป๋องมีปริมาณการส่งออกที่ค่อนข้างจะแน่นอนและมีแนวโน้มการ ส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

                ที่ผ่านมาไทยสามารถส่งออกมะม่วงไปจำหน่ายในญี่ปุ่นไม่ต้องเสียภาษี แต่ภายหลังการประกาศใช้ JTEPA ผู้ส่งออกต้องยุ่งยากและเสียเวลาในการจัดเตรียมเอกสารฟอร์ม A เพื่อ ขออนุญาตนำเข้ามะม่วง และบางครั้งลูกค้าเปลี่ยนใจต้องการสั่งซื้อสินค้าเพิ่ม บริษัทต้องปฏิเสธไปอย่างน่าเสียดายเพราะไม่สามารถยื่นขอเอกสารฟอร์ม A ตามระเบียบ JTEPA ได้ทันเวลา ทำให้ JTEPA กลายเป็น ปัญหาปิดโอกาสทางการขายแทน จึงอยากเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เร่งปรับปรุงระบบเอกสาร JTEPA ให้มีความยืดหยุ่นเพื่อเปิดโอกาสทางการค้ามากขึ้นในอนาคต

ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับการนำเข้ามะม่วงสด
การส่งออกมะม่วงไปญี่ปุ่นจะส่งออกได้เฉพาะมะม่วงสดพันธุ์หนังกลางวัน (งาช้าง) น้ำดอกไม้ แรด และพิมเสน โดยมีวิธีการกำจัดศัตรูพืชดังนี้ 
  • มะม่วง พันธุ์หนังกลางวันต้องถูกกำจัดแมลงวันผลไม้โดยเครื่องอบไอน้ำด้วย การใช้อากาศร้อนที่อิ่มตัวด้วยไอน้ำเพิ่มอุณหภูมิภายในสุดผลให้คงอยู่เป็น เวลานาน 10 นาที ที่อุณหภูมิ 46.5 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่า หรือการใช้อากาศร้อนที่อิ่มตัวด้วยไอน้ำเพิ่มอุณหภูมิภายในสุดผลให้คงอยู่ เป็นเวลานาน 20 นาที ที่อุณหภูมิ 47 องศาเซลเซียส หลังจากที่เพิ่มอุณหภูมิผลขึ้นอย่างช้าๆ จนกระทั่งถึง 43 องศาเซลเซียส ด้วยอากาศร้อนที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ
  • มะม่วง พันธุ์น้ำดอกไม้ แรด และพิมเสน ต้องถูกกำจัดแมลงวันผลไม้โดยเครื่องอบไอน้ำด้วยการใช้อากาศร้อนที่อิ่มตัว ด้วยไอน้ำเพิ่มอุณหภูมิภายในสุดผลให้คงอยู่เป็นเวลานาน 20 นาที่ ที่อุณหภูมิ 47 องศาเซลเซียส หลังจากที่เพิ่มอุณหภูมิผลขึ้นอย่างช้าๆ จนกระทั่งถึง 43 องศาเซลเซียส ด้วยอากาศร้อนที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ

                การดำเนินการอื่นๆ เช่น คุณสมบัติของเครื่องกำจัดแมลงวันผลไม้การบรรจุและสถานที่บรรจุหีบห่อ การตรวจสินค้านำเข้า ฯลฯ ต้องเป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับด้านกักกันพืชสำหรับมะม่วงสดที่ปลูกใน ประเทศไทย ก่อนส่งออกมะม่วงไปยังญี่ปุ่นดังกล่าวข้างต้น   ต้องใช้วิธีกำจัดแมลงวันด้วยความร้อน  กรรมวิธีอบไอน้ำปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์ (modified  vapor  heat  treatment, MVHT)  เพื่อกำจัดไข่และตัวหนอนของแมลงวันผลไม้ 2 ชนิดได้แก่   oriental  fruit  fly,  Bactrocera dorsalis  (Hendel)   และ Melon  fly,  B. cucurbitae  (Coquillett)   ที่อุณหภูมิผิวเมล็ดสูงถึง  47  องศาเซลเซียส  นาน  20 นาที  โดยในช่วงแรกของการเพิ่มอุณหภูมิผล มะม่วงถึง 43  องศาเซลเซียส   อากาศร้อนต้องมีความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง  50 -80  เปอร์เซ็นต์  และช่วงหลังจากผลมะม่วงอุณหภูมิ  43  องศาเซลเซียส   อากาศร้อนต้องอยู่สภาพที่อิ่มตัวด้วยความร้อน  ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 95% หลังจากจากสิ้นสุดการให้ความร้อนแล้วต้องลดอุณหภูมิผลมะม่วงโดยเป่าด้วยลมหรือฉีดพ่นด้วยน้ำ  
                การกำจัดแมลงวันผลไม้มะม่วงก่อนส่งออกด้วยกรรมวิธีอบไอน้ำ  ปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์ สามารถดำเนินการได้โดยนำมะม่วงไปทำการอบได้ที่ อาคารศูนย์พัฒนาการผลิตและควบคุมศัตรูผักผลไม้เพื่อการส่งออกกองปป้องกันและ กำจัดศัตรูพืช   กรมส่งเสริมการเกษตร   กรุงเทพฯ

การบรรจุหีบห่อและการคัดเลือกมะม่วง
               ทำการคัดเลือกมะม่วงโดยใช้ระดับความสุกและน้ำหนักผล   ความสะอาด   และตำหนิ   เป็นเกณฑ์เพื่อให้เกิดความสะดวกและความสม่ำเสมอของการจัดเรียงเสมอในบรรจุ ภัณฑ์   และเป็นไปตามมาตรฐานมะม่วงขนาดมะม่วงสำหรับแปรรูป   มักใช้มะม่วงที่มีน้ำหนักผลอยู่ระหว่าง  170 - 350  กรัม   หรือ  3 - 6  ผลต่อกิโลกรัม   ผลมะม่วงต้องสะอาดไม่มีสิ่งปนเปื้อน   เช่น   น้ำมันโซล่า   น้ำมันเครื่อง   ดิน   หิน   กรวด   ทราย

คุณลักษณะของภาชนะบรรจุมะม่วงเพื่อการส่งออก
                ขนาดของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้  ต้องเหมาะสมกับความต้องการของตลาด    มิติของบรรจุภัณฑ์ต้องเหมาะสมกับ สภาพการขนส่ง  โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้กับเพลเลท ขนาดบรรจุที่นิยมใช้มีตั้งแต่  2-15 กิโลกรัม บรรจุภัณฑ์ต้องให้การปกป้องผลผลิตไม่ให้เกิดการเสียหาย ทั้งกายภาพและเชิงกล   มีความแข็งแรง และมีความทนทานต่อการขนส่ง สามารถรองรับน้ำหนักของมะม่วง และการวางซ้อนเรียงในขณะทำการขนย้าย จากต้นทางไปปลายทางได้ 
                กรณีของกล่องกระดาษลูกฟูก  ความแข็งแรงของกล่องขึ้นกับชนิดของแป้งทำกาวและกระดาษลูกฟูกที่ใช้ในกระบวน การผลิตกล่อง    ชนิดกระดาษทำกล่องมะม่วงควรใช้กระดาษที่มีน้ำหนัก   กระดาษสำหรับทำผิวชั้น นอก  200 กรัมต่อตารางเมตร   และกระดาษทำผิวชั้นใน 230 กรัมต่อตารางเมตร    ส่วนกระดาษทำลอน ลูกฟูกควรอยู่ระหว่าง 125 - 160 กรัมต่อตารางเมตร
                บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ต้องไม่ทำให้มะม่วงเสื่อมคุณภาพ  หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีภาพ ที่ทำให้มะม่วงมีคุณลักษณะผิดไปจากธรรมชาติ  จึงต้องมีระบบการระบายอากาศที่ดีพอที่จะไม่ทำให้มะม่วงเกิดการหายใจแบบขาดออกซิเจน
                บรรจุภัณฑ์ต้องสามารถทนความชื้นสูงได้ ในกรณีที่ต้องเก็บมะม่วงในสภาพที่มีความชื้นสูง บรรจุภัณฑ์ที่ใช้จึงต้อง สะอาด   ปราศจากกลิ่นและวัตถุแปลกปลอม วัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนหมึกพิมพ์หรือกาว   ต้องไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและอันตรายต่อผู้บริโภค บรรจุ ภัณฑ์ที่สวยงามสามารถ ส่งเสริมการขายได้บรรจุภัณฑ์ต้องสามารถทำลายได้ง่าย หรือสามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์ใหม่ได้   เพื่อไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและ/หรือเพิ่มต้นทุนค่าใช้จ่ายในการทำลาย 

การส่งออกมะม่วง ใช้เอกสาร ดังนี้

                • ใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากกรมวิชาการเกษตร
                • ใบรับรับรองสารตกค้างจากกรมวิชาการเกษตร กรณีส่งออกไปยังประเทศ สิงค์โปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น สาธาณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง สหภาพยุโรป และสหรํฐอเมริกา (ดูวิธีการขอใบรับรอง)
                • หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (ฟอร์ม E) กรณีส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีน จากกรมการค้าต่างประเทศ ประกอบการขอใช้สสิทธิลดภาษีนำเข้า  


ที่มา ; http://ethaitrade.com/2008/export-watch/export-mango-to-japan/

14 ความคิดเห็น:

  1. รูปภาพสินค้าสวยดี

    อ่านเข้าจัยง่าย

    ตอบลบ
  2. พื้นหลังสวยดี

    เนื้อหากระทัดรัด อ่านง่าย

    ตอบลบ
  3. Cute, but I want you to write about the country, not product.

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาสั่นอ่านเข้าใจง่ายจ้ะ

    พื้นหลังสวยสบายตาดีจ้ะ..

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาสั้นดี พื้นหลังสวย

    ตอบลบ
  6. เนื้อหา ดี อ่านง่าย

    น่าสนใจดี

    ตอบลบ
  7. เนื้อหา ดี อ่านง่าย

    น่าสนใจดี

    ตอบลบ
  8. เื้นื้อหาสั้น อ่านเข้าใจง่ายดี

    ตอบลบ
  9. ข้อมู ล ดี สีม่วง ได้ ใจ เล ยยย ^^

    ตอบลบ
  10. เนื้อหาอ่านง่ายเข้าใจง่ายจ่ะ ความหมายตรงกับประเด็นที่อาจารย์ให้หาเนื้อความจ่ะ

    ตอบลบ